รักที่เป็นดอกไม้นั้นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียกลาง หรืออินเดีย จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร มียางสีขาวเหมือนน้ำนมเวลาที่หักกิ่งหรือลำต้น มีขนปกคลุมตามกิ่ง เดี่ยวออกสลับกันซ้ายขวา ใบรูปรีแกมหอก ปลายแหลม โคนเว้า เนื้อใบหนา มีจนนุ่มใต้ใบ ออกเป็นช่อตามอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสีม่วงหรือสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนดอกเชื่อมติดกัน ปลายดอกคล้ายมงกุฎ 5 แฉก เกสรตัวผู้ 5 ต้น ผลเป็นฝักคู่ จะแตกออกเมื่อแก่ มีเมล็ดแบนสีน้ำตาล มีขนสีขาวเป็นปุยอยู่ที่ปลายด้านหนึ่ง
เพราะมีดอกที่คงทน และช้ำยาก จึงนิยมนำดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยตั้งแต่โบราณและด้วยภูมิปัญญาไทย ที่ไม่เคยมองข้ามสิ่งใด เมื่อเห็นดอกรักที่แห้งหลังจากใช้มาลัยนั้นแล้ว ก็ยังรู้จักนำมาใช้ประโยชน์ หนึ่งในนั้นคือหมอสมุนไพรที่ไม่มองข้ามประโยชน์ของดอกรักแห้งที่เหลือจากบูชาพระ
ประโยชน์จากดอกรักแห้ง
ดอกรักแห้งเอามาบดให้ละเอียดหรือนำมาปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่น เก็บไว้ใช้เวลาที่เป็นโรคต่าง ๆ เกี่ยวกับผิวหนัง นำผงดอกรักแห้งมาผสมกับน้ำเล็กน้อยแล้วทาบริเวณที่เกิดโรค เช่น กลาก เกลื้อน หิด หรือทาตามง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า เพื่อฆ่าเชื้อรา ไม่ควรใช้ดอกรักสด เพราะจะมียางเล็กน้อย ทำให้ล้างออกยาก ที่สำคัญดอกรักมีสีที่ทำให้เมา จึงไม่ควรใช้ทำเป็นยาต้ม หรือกินดอกรักสด หรือดอกรักแห้งโดยเด็ดขาด
ส่วนอื่นของต้นรักก็ยังสามารถนำมาทำเป็นสมุนไพรได้อยู่บ้าง เปลือกราก เป็นยารักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ทำให้อาเจียน โดยใช้รากขนาดเท่านิ้วก้อย ต้มโดยที่ไม่ต้องบุบให้แตกเพราะตัวยาออกมาเยอะจะทำให้อาเจียน หรือเหงื่อออกเยอะมากจนเกินไป
ข้อควรระวัง เวลาที่เด็ด หรือหักกิ่งต้นดอกรัก จะมียางคล้ายน้ำนมสีขาวไหลออกมาเยอะมาก ให้ระวังยางดอกรัก อย่าให้ถูกส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เพราะถ้าถูกผิวหนังจะทำให้ระคายเคือง หากเป็นผู้ที่แพ้ง่ายอาจโดนยางกัดจนเป็นแผลได้เลยทีเดียว
ชื่อ : ดอกรัก (Crown Flower)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotropis gigantean (Linn.) R.Br.ex Ait.
วงศ์ : ACSLEPIADACEAE